Naikan (นายกัน) Company

ช่องทางติดต่อ
อีเมล kanit@naikan.company
Line ID : phaupae
มือถือ/WhatsApp : 0826217391
Facebook : Naikan ไอที Sales & Services,
Naikan Thai amulet

เหรียญพระศรีสรรเพชญ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พ.ศ.2512

ราคาเช่าบูชา 1,000 บาท

พระศรีสรรเพชญ์เป็นพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง สำหรับคำว่า สรรเพชญ นั้นมาจากภาษาสันสกฤตว่า สรฺวชฺ (อ่านว่า สัร-วะ-ชญะ) ตรงกับภาษาบาลีว่า สพฺพญฺญู แปลว่า ผู้รอบรู้ ผู้รู้ทุกสิ่ง ซึ่งในภาษาสันสกฤตนั้นคำว่า สรฺวชฺ เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า พระศิวะ พระอรหันต์ในศาสนาเชน และเจ้าลัทธิอื่นๆ (อีจัน, 2566) หน้าตักกว้าง 5.16 เมตร สูง 6.96 เมตร สันนิษฐานว่าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ผู้เป็นช่างวังหน้าปั้นขึ้นเมื่อคราวพระองค์บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ นามของพระพุทธรูปจึงเรียกตามชื่อเดิมของวัด คือ พระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2387 รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้บูรณะวัดนี้ทั้งพระอารามโดยให้ก่อความสูงของพระอุโบสถสูงขึ้น 1 ศอก และก่อเสริมพระศรีสรรเพชญ์ให้ใหญ่ขึ้นตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำนิรจนาเป็นผู้ปั้น ดังนั้นลักษณะในปัจจุบันจึงน่ามีลักษณะที่เป็นงานช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฏบางส่วน ลักษณะของพระศรีสรรเพชญ์มีพระพักตร์อบู่ในกรอบสี่เหลี่ยม พระพักตร์ดูเคร่งขรึม พระวรกายหนาใหญ่ แสดงยังให้เห็นว่ายังมีต้นเค้าของพระพุทธรูปสมัยอยุธยาปะปนอยู่บ้าง ลักษณะอื่นๆ เช่น การทำนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน การทำสังฆาฏิแผ่นใหญ่อยู่กึ่งกลางพระวรกาย เป็นรูปแบบทั่วไปของการสร้างพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (Wikipedia, 2568) เอกสารจากสมาคมศิษย์วัดมหาธาตุ พระนคร

พระศรีสรรเพชญ์เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 ทรงเคารพศรัทธาสูงสุด ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เคยตั้งสัตยาธิษฐานขอบารมีให้ช่วยคุ้มครองจากข้าศึกในระหว่างทรงร่วมกอบกู้ชาติบ้านเมือง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้า เป็นผู้ปั้น ‘พระศรีสรรเพชญ์’ ขึ้น เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ (ขณะนั้นเรียกชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์ คือ ในระหว่างปี พ.ศ.2331-2346 ซึ่งเป็นยุคต้นของรัตนโกสินทร์) พร้อมกับการปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ทั่วทั้งพระอาราม ในครั้งนั้นนามของพระประธาน จึงอนุโลมตามชื่อวัดไปด้วย

มีเรื่องราวบันทึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ใกล้สวรรคต ได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงไปที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงจบพระหัตถ์อุทิศถวายพระแสงดาบให้ทำเป็นราวเทียน โปรดให้จุดเทียนเรียงติดไว้ที่พระแสง เมื่อครั้งทรงพระประชวรในปลายสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นพุทธบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ.2387 วัดชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั่ว ทั้งพระอาราม โปรดให้เสริมส่วนสูงพระอุโบสถเพิ่มขึ้น 1 ศอก
ในการนี้ พระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระประธานได้รับการเสริมสร้างให้ ใหญ่ขึ้นตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำนิรจนาเป็นผู้ปั้น ในเวลาต่อมาองค์พระได้รับการปิดทองใหม่อีก 2 ครั้ง คือใน พ.ศ.2445 เกิดอสุนีบาตพระอุโบสถด้านตะวันตก พระประธานต้องสายฟ้าดำไปทั้งองค์ และอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2467 (สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, 2562)

ท่านเจ้าคุณพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ได้ประพันธ์เป็นคาถาสวดมนต์สำหรับนมัสการ เรียกว่า พุทธมังคลคาถา

พระศรีสรรเพชญ์ ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่มีความเก่าแก่ และมีความศักดิ์เป็นอย่างมาก หลายคนมักนิยมไปกราบไหว้ขอพรให้ประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ หรือให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคไปได้

อ้างอิงจาก

สมาคมศิษย์วัดมหาธาต พระนคร, 2512, “ประวัติหลวงพ่อ พระศรีสรรเพชร”. สืบค้นจาก https://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/rarebook/wp-content/uploads/2023/05/89.pdf
สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, 2562, “พระศรีสรรเพชญ์”, สืบค้นจาก https://web.facebook.com/
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร, 2568, “พระศรีสรรเพชญ์”, สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/ สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2568
พระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธรูปเก่าแก่ แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, 2566, “พระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธรูปเก่าแก่ แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”, สืบค้นจาก https://www.ejan.co/news/ สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2568